เวทีสมัชชาสร้างสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช “นครศรี อยู่ดี มีสุข สุขภาวะคนคอน”

เวทีสมัชชาสร้างสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช “นครศรี อยู่ดี มีสุข สุขภาวะคนคอน”

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมและให้โอวาทในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร หนุนเสริมการศึกษาวิจัยแก่พื้นที่ ในเวทีสมัชชาสร้างสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช “นครศรี อยู่ดี มีสุข สุขภาวะคนคอน”   ณ ห้องประชุมหัวตะพาน ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และในระบบ online ณ พื้นที่ต้นแบบ 4 พื้นที่ ได้แก่ 1) ศูนย์ประสานงานหมอดินอำเภอเมืองมะม่วงสองต้น 2) ที่ว่าการอำเภอนาบอน 3) องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังไกร และ 4) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา มีผู้เข้าร่วม onsite ทั้งหมด 85 คน และ online จำนวน 30 คน หลากหลายหน่วยงาน องค์กร     ภาคีเครือข่าย อาทิ เช่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนภาคใต้ สหทัยมูลนิธิ จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอำเภอนาบอน องค์การบริหารส่วนตำบลเขาพังไกร องค์การบริหารส่วนตำบลมะม่วงสองต้น ศูนย์พัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์    ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้นอาจารย์จำนง หนูนิล ตัวแทนของเครือข่ายหยวกกล้วยจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวรายงานการขับเคลื่อนเวทีสมัชชาสร้างสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช “นครศรี อยู่ดี มีสุข สุขภาวะคนคอน” และได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมและให้โอวาสในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร หนุนเสริมการศึกษาวิจัยแก่พื้นที่ ต่อมาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวเล่าที่มาของการจัดเวที และขอบคุณภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมเวที ต่อมามีการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 ประเด็นเด่น “ทอล์ค โชว์ พราวด์” สร้างสุขภาวะ: การขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ 1) นาผืนสุดท้ายของนครศรี: ตำบลเขาพังไกร 2) เกษตรอินทรีย์วิถีคนเมือง: ตำบลมะม่วงสองต้น 3) อ่าวทองคำขุมทรัพย์ท่าศาลา: ตำบลท่าศาลา และ 4) พชอ. สร้างสุขภาวะที่ยั่งยืน: อำเภอนาบอน จากนั้น นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะในการเสวนา ตัวแทนของเครือข่ายหยวกกล้วย ได้ยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะต่อหน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ผู้ว่าราชการจังหวัด 2) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช    3) คณะกรรมการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช 4) สภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช      5) พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) 6) เขตพื้นที่การศึกษา 7) กอ.รมน. ภาค 4    8) เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช และพาณิชย์จังหวัดนครศรีธรรมราช 9) นายอำเภอ และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) 10) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11) ศูนย์ตอบโต้ภัยพิบัติระดับตำบล 12) โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และ 13) องค์กร หน่วยงานอิสระ และองค์กรพัฒนาเอกชน การขับเคลื่อนต่อเนื่อง นำข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะมาพัฒนา ปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และนำเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดในลำดับถัดไป